ชาวออสเตรเลีย เตรียมลงมติครั้งใหญ่ในรอบ 24 ปี

แอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้ออกมาเปิดเผยคำถามที่รัฐบาลรัฐบาลต้องการให้ประชาชนลงคะแนนเสียง เพื่อรับรองคณะที่ปรึกษาชาวอะบอริจินและชาวเกาะในช่องแคบทอร์เรสต่อรัฐสภา ลงในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก

ขณะที่แถลงข่าวผู้นำออสเตรเลียถึงกับกลั้นน้ำตาแห่งความยินดีไว้ไม่อยู่ เพราะนี่คือความสำเร็จก้าวแรกของการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้บรรดาชนพื้นเมืองมีบทบาทในการเมืองของออสเตรเลียมากขึ้น

ออสเตรเลีย เล็งซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐฯ คานอำนาจจีน

"ออสเตรเลีย" พบแคปซูลกัมมันตรังสีแล้ว ไม่พบผู้ได้รับอันตราย

นายกฯ ออสเตรเลียย้ำว่า วันนี้เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียอย่างแท้จริง และการลงประชามติในครั้งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นโอกาสที่ชาวออสเตรเลียทุกคนจะได้มีสิทธิกำหนดอนาคตและเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน

คำถามในการลงประชามติคือ "คุณสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อเป็นเสียงของชาวอะบอริจินและชาวเกาะ

ช่องแคบทอร์เรสหรือไม่?" ความเปลี่ยนแลปงนี้จะช่วยให้ชาวอะบอริจินมีสิทธิเสียงมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลออสเตรเลียยังไม่ได้กำหนดวันเปิดคูหาลงประชามติที่แน่นอน แต่คาดว่าการลงประชามติจะมีขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคมปีนี้ ซึ่งจะถือเป็นการลงประชามติครั้งแรกในรอบ 24 ปีของออสเตรเลีย

การลงประชามติครั้งล่าสุดของออสเตรเลียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี 1999 เพื่อเปลี่ยนแปลงออสเตรเลียให้เป็นสาธารณรัฐ และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐแทนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรในเวลานั้น

อย่างไรก็ดี ผลการลงประชามติในครั้งนั้นปรากฏว่า ประชาชนราวร้อยละ 55 ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงออสเตรเลียเป็นสาธารณรัฐภายใต้อำนาจประธานาธิบดี

การลงประชามติเป็นประเด็นสำคัญสำหรับประเทศออสเตรเลีย เพราะสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนมีสิทธิและอำนาจในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์และแกนกลางในการกำหนดวิธีการปกครองประเทศ

รัฐบาลออสเตรเลียทุกชุดไม่มีสิทธิและอำนาจในการ “เปลี่ยนแปลงเนื้อหา” หรือ “ฉีก” รัฐธรรมนูญเด็ดขาด เพราะอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ดี การลงประชามติของออสเตรเลียมีความซับซ้อน เพราะมีระบบที่เรียกว่า “เสียงข้างมากสองขั้นตอน (double majority)” ที่จะเป็นตัวกำหนดว่า การลงประชามติจะประสบความสำเร็จหรือไม่

เสียงข้างมากสองขั้นตอนคือ ประชาชนออสเตรเลียจำนวนมากต้องลงมติเห็นด้วย และผลรวมของการลงประชามติในรัฐต่าง ๆ ส่วนใหญ่ หรือ 4 รัฐขึ้นไปต้องเห็นด้วยเช่นกันกับการลงมติของประชาชน หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง การลงประชามติจะถือว่าไม่สำเร็จ

ที่ผ่านมา ออสเตรเลียจัดการลงประชามติไปแล้ว 19 ครั้ง เพื่อรับรองร่างการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ 44 ร่าง

อย่างไรก็ดี ในจำนวนนี้มีการลงประชามติเพียง 8 ครั้งเท่านั้น ที่ได้เสียงข้างมากสองขั้นตอน ซึ่งครั้งล่าสุดที่การลงประชามติสำเร็จคือ การลงมติเรื่องการบรรจุตำแหน่งชั่วคราวในวุฒิสภาออสเตรเลียเมื่อปี 1977 หรือ เมื่อ 46 ปีที่แล้ว

ดังนั้นการลงประชามติในครั้งนี้จึงมีความสำคัญมากอีกครั้ง เพราะประชาชนออสเตรเลียจะเป็นผู้ตัดสินว่า “คณะที่ปรึกษาเสียงชาวพื้นเมืองต่อรัฐสภา หรือ Indigenous Voice to Parliament” จะได้รับการบรรจุลงในรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากประชาชนออสเตรเลียส่วนใหญ่เห็นชอบตามระบบ “เสียงข้างมากสองขั้นตอน” จะทำให้รัฐบาลสามารถรับรองชาวอะบอริจินและชาวเกาะในช่องแคบทอร์เรสไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงสร้างองค์กรชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อเลือกตั้งผู้แทนมาให้คำแนะนำแก่รัฐสภาเกี่ยวกับนโยบาย และโครงการที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองได้โดยตรง

หลังจากนี้ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะนำคำถามในการลงประชามติดังกล่าวเข้าสู่สภา ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า และรัฐสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างคำถามดังกล่าวก่อนเปิดให้สมาชิกลงมติอนุมัติการทำประชามติในเดือนมิถุนายนนี้

หลายฝ่ายมองว่านี่คือช่วงเวลาที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของออสเตรเลียเพราะการลงมติครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีในการชำระประวัติศาสตร์และแก้ไขความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นจากการล่าอาณานิคม โดยไม่ได้เคารพความเห็นหรือสวัสดิภาพของชนพื้นเมือง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในดินแดนออสเตรเลียมาก่อน

 ชาวออสเตรเลีย เตรียมลงมติครั้งใหญ่ในรอบ 24 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อราว 40,000-60,000 ปีที่แล้ว ชนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียคือ ชาวอะบอริจิน พวกเขามีภาษา ประเพณี และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอะบอริจินมีพัฒนาทางปรัชญาและศาสนา รวมถึงอาศัยร่วมกันอย่างสันติสุข

นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ชาวอะบอริจินสืบเชื้อสายมาจากชนพื้นเมืองในทวีปเอเชีย พวกเขาเดินทางข้ามเรือมายังออสเตรเลีย จึงถือเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่มาถึงทวีปนี้

อย่างไรก็ดี ชาวอะบอริจินเผชิญหน้ากับภัยคุกคาม หลังจากการมาถึงของนักโทษชาวอังกฤษที่ถูกเนรเทศออกจากประเทศเมื่อปี 1788

การแย่งชิงพื้นที่ทำกิน ความไม่เข้าใจระหว่างวัฒนธรรม และโรคระบาดที่มาจากชาวตะวันตก ทำให้ชนผิวขาวคร่าชีวิตชาวอะบอริจินไปราว 100,000-150,00 คน ทำให้บางพื้นที่ เช่น เกาะแทสเมเนีย ไม่มีชาวอะบอริจินเหลือแม้แต่คนเดียว

ทั้งนี้ ข้อมูลสำมะโนประชากรในปี 2021 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลียระบุว่า มีชาวอะบอริจินอาศัยอยู่ในออสเตรเลียราว 880,000 คน หรือราวร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมดในออสเตรเลีย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 1,100,000 คนในช่วงสิ้นทศวรรษนี้

แม้ชาวอะบอริจินจะเพิ่มขึ้น แต่การเสียชีวิตไปของชาวอะบอริจินจำนวนมากในอดีต ทำให้รัฐบาลออสเตรเลียรู้สึกผิดและพยายามหาทางแก้ไขด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอะบอริจิน เช่น การผ่านพระราชบัญญัติสิทธิในที่ดินทางตอนเหนือของชาว อะบอริจิน Aboriginal Land Rights (Northern Territory) Act

พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายฉบับแรกของออสเตรเลีย ที่อนุญาตให้ชาวอะบอริจินอ้างสิทธิ์ในที่ดินที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเจ้าของมาแต่เดิม

ขณะที่เมื่อปี 2013 รัฐสภาของออสเตรเลียผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ประกาศให้ชาวอะบอริจิน และชาวเกาะบริเวณช่องแคบทอร์เรส เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรก

แม้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะพยายามแก้ไขความผิดพลาดในอดีตและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวอะบอริจิน แต่พวกเขายังต้องเผชิญกับปัญหาที่มาจากกลุ่มคนผิวอยู่เป็นระยะๆ เช่น การถูกบริษัทเหมืองของเอกชนระเบิดถ้ำศักดิ์สิทธิ์ในปี 2013

ขณะเดียวกัน องค์การสหประชาชาติก็เคยออกมารายงานเมื่อปี 2017 ว่ารัฐบาลออสเตรเลียยังไม่สามารถรับประกันคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ของชนพื้นเมืองได้อย่างเพียงพอคำพูดจาก สล็อต เว็บ

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่มีผู้แทนของกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายของทั้งภาครัฐไปนั่งและร่วมตัดสินใจนโยบายอยู่ในสภา ทำให้ต้องมีการผลักดันให้เกิดการทำประชามติเพื่อบรรจุผู้แทนชนพื้นเมืองไว้เป็นที่ปรึกษาในรัฐสภา

ที่ผ่านมา ผู้แทนของชนพื้นเมืองออสเตรเลียพยายามผลักดันเรื่องการลงประชามติรับรองให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิ์มีเสียงในสภามาตลอด เพราะเชื่อว่าจะทำให้พวกเขามีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น

ต้องติดตามต่อไปว่าในเดือนตุลาคม ชาวออสเตรเลียจะรับรองการตั้งคณะผู้แทนชนพื้นเมืองหรือไม่ ถ้าผลการลงประชามติปรากฏว่าผ่านการรับรอง ก็จะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในรัฐธรรมนูญครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ทศวรรษ

You May Also Like

More From Author