นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน ที่มุ่งสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการกำกับดูแลความเสี่ยง เช่น การอนุญาตให้กลุ่มธนาคารพาณิชย์ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงแนวนโยบายด้านการกำกับดูแลให้เท่าทันกับความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น การกำกับธุรกิจให้เช่าซื้อและลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค และดูแลการก่อหนี้ ของครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นจากสาธารณชน
นอกจากนี้ ธปท.ยังเสนอแนวนโยบายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะไทยมีความเสี่ยงสูง เห็นได้ จากแรงงานกว่า 1 ใน 3 ของไทยอยู่ในภาคเกษตรที่จะถูกกระทบจากโลกร้อน ซึ่งไทยติด อันดับ 9 ของประเทศทั่วโลกที่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับผลกระทบด้านนี้ และไทยยังมีบางจุดที่ปรับตัวในเรื่องนี้ช้ากว่าประเทศอื่น เห็นได้จากความสามารถในการ รับมือภัยธรรมชาติของไทยยังอยู่อันดับ 39 จาก 48 ประเทศ และแม้ธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มปรับตัวไปแล้ว แต่เอสเอ็มอีที่มีสายป่านสั้น ยังปรับตัวได้ยาก
“ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและแนว ทางการดำเนินงานในระดับประเทศภายใต้กรอบเวลาที่ชัดเจน ส่วนภาคธุรกิจต้องประเมินผลกระทบ และปรับตัวให้ทันการณ์โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อที่จะสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ ขณะที่ประชาชนต้องตระหนักถึงผลกระทบ และทยอยปรับการใช้ชีวิต ทั้งหมดนี้จะช่วยให้การก้าวไปสู่ เป้าหมายของประเทศทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นไปอย่างราบรื่น”
นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท.ได้การวางรากฐานสำคัญ 5 ด้านในเรื่องนี้ ประกอบด้วย
(1) ปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ (Products and Services) โดยจะออกแนวนโยบายการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่คำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เพื่อให้สถาบันการเงินผนวกแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมาตรฐานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน และการสร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจผ่านธุรกรรมการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ที่สามารถรองรับการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ได้อย่างตรงจุด
(2) จัดทำมาตรฐานกลางที่กำหนดนิยามและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน โดยเริ่มจากการจัดกลุ่มกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจหลักที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่สูง อาทิ ภาคพลังงานและภาคการขนส่ง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม ปี 2566 เพื่อให้แต่ละภาคส่วนนำไปใช้อ้างอิงและช่วยให้สามารถประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของตนได้
(3) ร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านสิ่งแวดล้อมและมีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน (Data and Disclosure) โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน ในการพัฒนาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการประเมินโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ หรือการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงตัดสินใจลงทุนหรือเลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
(4) สนับสนุนการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม (Incentive) เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และผู้บริโภค เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งล่าสุด ธปท. ได้นำร่องโดยการออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวภายใต้ พ.ร.ก.ฟื้นฟู เพื่อสนับสนุนวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เหมาะสมแก่ SMEs ในการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจ ซึ่งมิติด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในรูปแบบการปรับตัวที่มีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันภายใต้กระแสบริบทโลกใหม่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
(5) ยกระดับองค์ความรู้และความชำนาญของบุคลากรในภาคการเงิน (Capacity Building) โดยพัฒนาหลักสูตรร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ สามารถประเมินโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และให้คำแนะนำแก่ภาคธุรกิจได้อย่างเหมาะสมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง