เมื่อวันที่ 14 ต.ค. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ดังนี้ 1. มิติการพัฒนาทางถนน 1.1 การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 323 สายท่าเรือ-กาญจนบุรี ดำเนินการแล้วเสร็จ และโครงการก่อสร้างปรับปรุงบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 323 กับทางหลวงหมายเลข 367 (แยกท่าล้อ) อยู่ระหว่างดำเนินการ, 1.2 การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ได้แก่ โครงการบำรุงถนนสาย กจ.4088 แยก ทล.3272-บ้านอีต่อง อ.ทองผาภูมิ อยู่ระหว่างก่อสร้าง คืบหน้า 83.98% คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ต.ค.65 และโครงการสะพานข้ามแม่น้าแควน้อย ต.ท่าเสา และ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค อยู่ระหว่างก่อสร้าง คืบหน้า 30.62%
1.3 แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP เป็นโครงข่ายคมนาคม ที่ประกอบด้วยถนนมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟพัฒนาอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน โดยแผนการดำเนินการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) แล้ว ซึ่งในปี 65 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะสำรวจ และออกแบบรายโครงการ โดยมีเส้นทางที่ผ่านพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ MR5 : กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6) ระยะทาง 832 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเป็น 1 ใน 3 โครงการนำร่อง และ MR6 : กาญจนบุรี (ด่านพุน้ำร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) ระยะทาง 390 กม.
1.4 โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี มีจุดเริ่มต้นที่จุดตัดทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันตกกับถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณทางแยกต่างระดับบางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ผ่านพื้นที่ อ.นครชัยศรี และอ.เมือง จ.นครปฐม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี สิ้นสุดที่จุดบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 324 (ถนนกาญจนบุรี-อ.พนมทวน) อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 96 กม. ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธามีความก้าวหน้ากว่า 82% กำหนดเปิดให้บริการปี 66
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M81 กาญจนบุรี-ชายแดนไทย/เมียนมา (บ้านพุน้าร้อน) เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 4 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านพุน้าร้อน ระยะทาง 82 กม. ขณะนี้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (FS) และออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ สาหรับรูปแบบการลงทุน และแผนดำเนินโครงการอยู่ระหว่างรอความชัดเจนของการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย, 1.5 การเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะ การเชื่อมโยงระบบคมนาคมจากสถานีขนส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง หมวด 1 สายที่ 2 ศาลาสองแคว-เชิงสะพานแก่งเสี้ยน หมวด 4 สายที่ 1722 กาญจนบุรี-ลาดหญ้า สายที่ 8170 กาญจนบุรี-ศรีสวัสดิ์ สายที่ 8172 กาญจนบุรี-บ้านพุน้าร้อน สายที่ 8203 กาญจนบุรี-สังขละบุรี สายที่ 8520 กาญจนบุรี-ค่ายกองพลที่ 9
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า 2. มิติทางราง มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ดังนี้ 2.1 แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (ปี 60-64) 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางชุมทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 5 เส้นทาง ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 66
2.2 แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 (ปี 65-69) 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่ระยะถัดไป 12 เส้นทาง โดยมีเส้นทางที่อยู่ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกาญจนบุรี-บ้านพุน้าร้อน และเส้นทางกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี-ชุมทางบ้านภาชี โดยทั้ง 2 เส้นทาง รฟท. อยู่ระหว่างเตรียมขอรับจัดสรรงบประมาณปี 67 เพื่อศึกษาความเหมาะสมต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า 3. มิติทางน้ำ ได้แก่ โครงการขุดลอกแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง โครงการจัดระเบียบแพสานักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขากาญจนบุรี ร่วมมือกับจังหวัดกาญจนบุรีในการจัดระเบียบแพ 50 หลัง ในแม่น้าแควใหญ่ บริเวณท่าน้าหน้าเมืองเขื่อนขุนแผน ให้แพพักเคลื่อนย้ายไปจอดไว้ในบริเวณที่เหมาะสม และโครงการสร้างความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ได้แก่ จัดตั้งจุดอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยทางน้ำประจำท่าเทียบเรือที่มีประชาชน และนักท่องเที่ยวใช้บริการหนาแน่น จัดเจ้าหน้าที่ประจำท่าเทียบเรือสาธารณะ และการควบคุมเรือทุกประเภท ตรวจสอบความปลอดภัยของเรือโดยสาร และโป๊ะเทียบเรือ
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า เมื่อโครงการก่อสร้างต่างๆ ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรีแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้การเชื่อมต่อด้านคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง สามารถรองรับปริมาณการเดินทาง และคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ในโอกาสนี้ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 66 ได้ตามเป้าหมายของกระทรวงคมนาคมที่ 100% โดยเฉพาะงบลงทุน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ นอกจากนี้การดำเนินการทุกขั้นตอนให้ยึดหลักกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้คำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนด้วย
นอกจากนี้ให้หน่วยงานในพื้นที่เร่งซ่อมแซมสายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถสัญจรได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และประสานงานกับจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที อีกทั้งในการดำเนินการก่อสร้าง ให้หน่วยงานคมนาคมในพื้นที่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ และให้ทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัดอย่างต่อเนื่อง และครบทุกมิติ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ขณะเดียวกัน ให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ขยายผลการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น การนำ รถเมล์ EV มาให้บริการประชาชน เป็นต้น.